โรคหลอดเลือดหัวใจหัวใจภัยแฝง…. อันตรายมาก!!….ชี้ทางป้องกัน

20170110_074359

#โรคหัวใจ (Heart disease) 

โรคที่เกิดกับหัวใจจริงแล้วมีหลายโรคแต่ที่
เป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้สูงติด 1 ใน 4 ของสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนเกือบทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงโรคหัวใจมักจะหมายถึง

#โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease หรือ Coronary heart disease)
โรคนี้เกิดจากหลอดเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจซึ่งมีชื่อเรียกว่า Coronary artery ตีบแคบเล็กลงหรือตีบตัน

ทำให้เลือดไหลไปเลื้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจจึงทำงานผิดปกติและยังส่งผลถึงอวัยวะต่างๆขาดเลือดไปเลื้ยงด้วย

โรคหลอดเลือดหัวใจเป็นโรคของผู้ใหญ่ตั้งแต่วัยหนุ่มสาวไปจนถึงในผู้สูงอายุ โดยพบได้สูงตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไปในช่วงวัยเจริญพันธุ์
พบจำนวนผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ชายสูงกว่าในผู้หญิง แต่หลังจากวัยหมดประจำเดือนถาวรแล้ว ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ใกล้เคียงกัน

#สาเหตุ
ของโรคหลอดเลือดหัวใจคือ การมีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจที่เรียกว่า

พลาค (Plaque),หลอดเลือดแดงแข็ง(Arteriosclerosis)หรือมีเนื้อเยื่อ,หินปูนสะสมในผนังหลอดเลือดจึงส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบลง เลือดซึ่งมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไหลผ่านได้น้อยลง พลาคนี้ยังก่อให้เกิดการอักเสบของผนังหลอดเลือด หรือผนังหลอดเลือดบาดเจ็บเสียหาย ร่างกายจะซ่อมแซมผนังส่วนเสียหายโดยการจับตัวเป็นก้อนของเกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งส่งผลให้ช่องในหลอดเลือดตีบแคบลงไปอีก เลือดจึงไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเพิ่ม จึงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด

20170110_07433620170110_074336

และบ่อยครั้งการซ่อมแซมจากร่างกายนี้ก่อให้หลอดเลือดถึงขั้นอุดตัน จึงส่งผลให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายด้วยสาเหตุจากการขาดเลือด ซึ่งอาจเกิดได้อย่างเฉียบพลัน และเมื่อรุนแรงจะเป็นสาเหตุให้หัวใจหยุดทำงานทันที จึงเสียชีวิตได้ทันทีกะทันหัน

สำคัญที่ว่า…ตัวหลอดเลือดหัวใจเองยังสามารถบีบหดตัวได้ ดังนั้นเมื่อมีการหดตัวของหลอดเลือด จึงส่งผลให้รูท่อหลอดเลือดตีบแคบลง จึงเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้เช่น จากภาวะมี ความเครียดสูง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้บ่อยๆ

#ปัจจัยเสี่ยงหรือกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่

-ไขมันในเลือดสูง
-โรคเบาหวาน เพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้หลอดเลือดอักเสบ
-โรคความดันโลหิตสูงจากผนังหลอดเลือดแข็งตัว (หลอดเลือดแดงแข็ง) และมักเกิดร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆเช่น เบาหวานและไขมันในเลือดสูง
-สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ทำลายเซลล์ของหลอดเลือดโดยตรง ก่อให้หลอดเลือดแข็งและยังทำลายเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงด้วย

-รูปร่างอ้วนก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูงด้วย

-ขาดการออกกำลังกาย เพราะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอ้วน
-ทานอาหารไม่มีประโยชน์ และเป็นอาหารไขมันสูง จึงมีผลต่อสุขภาพของเซลล์ต่างๆทั่วร่างกายรวมทั้งของหลอดเลือดหัวใจ
-ความเครียด เพราะส่งผลให้หลอดเลือดต่างๆโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองบีบหดตัว ช่องในหลอดเลือดจึงตีบแคบ กล้ามเนื้อหัวใจและเซลล์สมองจึงขาดเลือดได้
-พันธุกรรม พบโรคนี้ได้สูง
-การพักผ่อนไม่เพียงพอ

#อาการ
ที่พบบ่อยของโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่
ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็นโรคหรือเมื่อหลอดเลือดยังตีบไม่มาก

-เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงหรือออกกำลัง
-เจ็บแน่นหน้าอก(พบได้บ่อย)เมื่อใช้กำลังเพิ่มขึ้นหรือเมื่อมีความเครียด (ผู้หญิงมักไม่ค่อยพบมีอาการนี้) อาการอาจร้าวไปที่ขากรรไกร ไหล่ และ/หรือ แขนด้านใดก็ได้ แต่มักเป็นด้านซ้าย
หรือเจ็บแน่น/หรือปวดแน่นตรงกลางอกเหนือลิ้นปี่ แน่นหนักเหมือนมีอะไรกดทับหรือบีบ บางครั้งมีอาการแสบร้อน อาการดังกล่าวอาจลุกลามไปด้านหลัง, คอ, ไหล่ หรือคาง หรือต้นแขน โดยทั่วไปมักมีอาการอยู่นานประมาณ 5 นาที แต่อาจน้อยหรือนานกว่านี้ได้
-หัวใจเต้นเร็ว
-บวมที่หน้า แขน/ขา
-ความดันโลหิตสูง
-ไขมันในเลือดสูง
อาการของโรคหัวใจล้มเหลว(หัวใจวาย) เช่น เหนื่อยง่าย

20170110_074141

แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้จาก
-ประวัติอาการ
-ประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัว
-การตรวจร่างกาย
-ตรวจวัดความดันโลหิต
-ตรวจไขมันในเลือด/การตรวจร่างกาย
-ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
-เอกซเรย์ทรวงอก
-ตรวจเลือด
-อัลตราซาวน์หัวใจ Echocardiogram
-การเดินสายพาน Exercise Stress Test
-Tilt Table Test
-การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ24-48ชั่วโมง
-การฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
หรืออาจมีการตรวจอื่นเพิ่มเติมขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจคือ
1.ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต (เรื่องอาหาร การออกกำลังกาย และสุขภาพจิต)
2.ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง ทานยาขยายหลอดเลือดหัวใจอยู่
3.ทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด
4.ทานยาลดไขมันในเลือด
5.ขยายหลอดเลือดด้วยเทคนิคต่างๆ
6.การผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ (โรคหัวใจ: การซ่อมรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ) ทั้งนี้ ขึ้นกับความรุนแรงของโรคและดุลพินิจของแพทย์

20170110_074207

หากเป็นแล้ว…..โรคหลอดเลือดหัวใจรุนแรงไหม? รักษาหายไหม?
โรคหลอดเลือดหัวใจจัดเป็นโรคเรื้อรังและรุนแรง เป็นสาเหตุให้เกิดทั้งความพิการและเสียชีวิตได้
ความพิการเช่น เป็นสาเหตุให้สมองขาดเลือด จากหัวใจทำงานลดลง จึงเกิดภาวะอัมพฤกษ์/อัมพาตได้ง่าย
และคุณภาพชีวิตก็จะลดลงไปด้วย ต้องจำกัดการออกแรง จำกัดการทำกิจวัตรประจำวันชีวิตอาจไม่เหมือนเดิมได้อีก

จากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเกิดโรคหัวใจวาย หรือโรคหัวใจล้มเหลว (โรคหัวใจ: หัวใจวายจากโรคหลอดเลือดหัวใจ)

การดูแลตนเองเมื่อเมื่อเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจหรือวิธีป้องกัน ปรับวิธีการใช้ชีวิต
-ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำ
-ทานยาต่างๆตามแพทย์แนะนำให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา
-จำกัดอาหารไขมันทุกชนิดโดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
-ออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพสม่ำเสมอ
-ควบคุมอาหาร ทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายควบคุมน้ำหนัก
-ดูแลรักษาควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
-รักษาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยการรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพจิตที่ดี ลดความเครียด
-ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอเริ่มตั้งแต่อายุ 18 – 20 ปี
-พบแพทย์ตรงตามนัดเสมอและรีบพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม และ/หรืออาการต่างๆเลวลง

ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการหรือมักจะเกิดอาการตอนใช้กำลัง/ออกแรง หรือมีความเครียดมากๆ หรือบางครั้งมีอาการหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือตอนอากาศเย็นมากๆ (บางคนอาจพบตอนอากาศร้อนมากๆ) หรือ ช่วงสูบบุหรี่
อาการปวด แน่น เจ็บ หน้าอก จะทำให้รู้สึกหายใจลำบาก เหงื่อไหล บางคนมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย และอาการจะรุนแรงหากการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจมีมาก 

การป้องกันที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ก็คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ในบางคนด้วยแล้ว อาจทำไม่ง่าย และตัวการสำคัญหลักของโรคหลอดเลือดหัวใจจะกล่าวต่อไปนี้คือเรื่องอาหารประเภทไขมัน

อาหารเพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือด
1. ลดการรับประทานอาหารไขมันอิ่มตัวสูง เช่หมู มันหมูน น้ำมัน เนย ครีม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
อาหารที่ทำจากกะทิเพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ใช้น้ำมันจากพืชประกอบอาหารแทนน้ำมันจากสัตว์ เพราะน้ำมันพืชที่สกัดจากเมล็ดพืช จะมีกรดไลโนเลอิค ที่เป็นตัวนำโคเลสเตอรอลไปเผาผลาญ ได้สูงกว่าน้ำมันที่สกัดจากน้ำมันพืช ซึ่งน้ำมันพืชที่ดี คือ น้ำมันมะกอก รองลงมาคือ น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด
3. จำกัดปริมาณอาหาร ที่มีโคเลสเตอรอลสูง ไม่ควรรับประทานโคเลสเตอรอลเกิน 300 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยปฏิบัติดังนี ้
จำกัดไข่แดงไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ฟอง

•หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน ให้รับประทานเนื้อปลาและไก่แทน
• เลือกรับประทานโปรตีนจากพืชพวกเต้าหู้แทนเนื้อสัตว์
• เลือกรับประทานอาหารประเภท ต้ม นึ่ง ย่าง อบ ย่าง แทนอาหารทอด หรือ อาหารผัดที่ใช้
น้ำมันมากๆ
เลือกดื่มนมหรือผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประเภทพร่องมันเนยหรือนมขาดไขมัน หรือเลือกดื่มน้ำเต้าหู้แทน เลี่ยงการรับประทานกะทิ
4. รับประทานอาหาร ที่มีเส้นใยอาหารให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ ข้าวซ้อมมือ และเมล็ดถั่วแห้งเป็นต้น โดยอาหารที่มีเส้นใยสูง จะช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล ทำให้การดูด
ซึมคลอเลสเตอรอลลดลง
5. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมหวานทุกชนิด ที่มีน้ำตาลหรือแป้งมาก รับประทานข้าวก๋วยเตี๋ยว ขนมปังแต่พอสมควร เพราะจะสะสมเกิดเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์
6. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากกระตุ้นให้มีการสร้างไตรกลีเซอไรด์ มากขึ้น
7. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือไม่สูงมาก แต่มีปริมาณไขมันจำนวนมาก ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นคลอเลสเตอรอลในร่างกาย เช่น ถั่ว หนังเป็ด,ไก่ เนย เป็นต้น ซึ่งมีไขมันถึง 60-70%
8. ทานไขมันจากปลาทะเล สามารถลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวน้อยลง และเส้นเลือดบีบตัวน้อยลง แต่มีผลต่อคลอเลสเตอรอล และHDLคลอเลสเตอรอลไม่ชัดเจน หากร่างกายมีไตรกลีเซอไรด์สูง จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ถ้าเกิดที่หัวใจจะทำให้เป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ 

9. ควรลดน้ำหนักด้วย หากอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเกิน

 

con_umi

care-agel-hrt

       สินค้า ราคาปกติ ราคาขาย
     อูมิ [umi] 4500 3050
ฮาร์ท [hrt] 3800 2800

การฟื้นฟูโรคหลอดเลือดหัวใจเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดควรใช้การดูแลควบคู่ทั้งสองผลิตภัณฑ์ถึงจะดีที่สุด

 

https://www.gellove.com/main/how-to-buy/ ‎