ทางออกโรคหัวใจและหลอดเลือดป้องกันภาวะแทรกซ้อน

 

ทางออกโรคหัวใจและหลอดเลือดป้องกันภาวะแทรกซ้อน

เรื่องของโรคหัวใจและหลอดเลือดมีความสลับซับซ้อนยากต่อการเข้าใจ แต่หากเราเริ่มเรียนรู้จากเรื่องที่เข้าใจง่ายๆก่อนก็จะทำให้เรามีความเข้าใจและปฏิบัติตัวถูก ก็จะลดการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้หลายๆเปอร์เซนต์ เรามีความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดกันขนาดไหนกัน โรคหัวใจและหลอดเลือดมักเกิดได้กับคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปค่ะ และเป็นมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นๆ

สาเหตุการเสียชีวิตของโรคนี้สูงติด 1 ใน 4 ของสาเหตุการของการเสียชีวิตของประชาชนเกือบทั่วโลก ในแต่ละปีมีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึงปีละ 54,000 คน เฉลี่ยอยู่ที่ชั่วโมงละ 6 คน โรคหัวใจและหลอดเลือดนี้ก็ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็งและอุบัติเหตุ ตัวเลขนี้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นหากพฤติกรรมการทานอาหาร การใช้ชีวิตที่เครียดเพราะมีแต่ความเร่งรีบ ขาดการออกกำลังกายเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน โอกาสที่จะเป็นโรคนี้ก็มีมาก เราลองมาติดตามดูกันว่ามีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง

1.ภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจวายเกิดได้บ่อยที่สุด**) เป็นภาวะที่หัวใจทำงานอ่อนกำลังลงไปหรือทำหน้าที่ได้ไม่เต็มที่ เราสามารถจะสังเกตุง่ายๆได้จาก การทำกิจวัตรประจำวันแล้วเหนื่อย ทำเรื่องส่วนตัวง่ายๆได้ยากขึ้น ทำแล้วเหนื่อยมากขึ้น ในเรื่องโรคหัวใจหลายต่อหลายโรคมักเกิกภาวะแทรกซ้อนของโรคหัวใจชนิดนี้ค่ะ เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจรั่ว

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

อาการสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลวคือจะอ่อนเพลีย เหนื่อย หายใจลำบาก อึดอัดเวลาออกกำลังกายหรือเวลานอนในท่านอนหงาย หรือทำให้เราตื่นกลางดึก มีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะบ่อย เข้าห้องน้ำบ่อยเวลากลางคืน เท้าบวม วิธีที่จะป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวก็หนีไม่พ้นเรื่องจัดการเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เลือดไหลเวียนและสูบฉีดเลือดให้เป็นปกติ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้มีของเหลวค้างในปอดหรือที่เราเรียกว่าน้ำท่วมปอด อวัยวะต่างๆโดยเฉพาะไตของเรากำจัดน้ำส่วนเกินที่คั่งไม่ได้ ร่างกายจะเกิดการบวมน้ำทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

 

2.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  โรคนี้เกิดจากการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี มีภาวะหลอดเลือดแดง Coronary artery ที่ไปเลื้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบตันหรือมีลิ่มเลือด เรียกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ Coronary artery disease จากหลอดเลือดแดงแข็ง หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว ส่งผลต่อการที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

อาการที่สำคัญของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เกิดขึ้นคือ มีอาการเจ็บตรงกลางหน้าอก เยื้องลงมาทางลิ้นปี่เล็กน้อยอย่างกระทันหัน เจ็บร้าวไปยังแขนหรือด้านซ้ายของคอ ไหล่ซ้าย ข้อศอก ท้องแขน กราม ทำให้หายใจลำบาก เหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียน ใจสั่น ใจหวิว ชีพจรเต้นเร็วหรือช้ากว่าปกติ มีความวิตกกังวลมากขึ้น อ่อนแรง อาหารไม่ย่อย เหนื่อยล้า หน้ามืด หมดสติ และ 1 ใน 4 ของผู้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน มักไม่มีอาการเบื้องต้นใดมาก่อน เป็นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันคืออาจเกิดจากพันธุกรรม โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอาจจะหนาตัว หัวใจอาจจะพองโต หรือในคนที่สูบบุหรี่ เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มีความเครียด อ้วนและไม่ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หรือผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

ความเป็นความตายอยู่ใกล้กันมาก ดูให้จบนะค๊ะ น่ากลัวมาก

 

3.โรคหลอดเลือดสมอง stroke คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ทำให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองจะหยุดชะงัก  เกิดปัญหาเมื่อหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมองตีบหรือตัน โรคนี้ทำให้เยื่อสมองตายได้เพียงไม่กี่นาที วิธีป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุดคือ การชะลอความเร็วของการเกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

อาการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองคืออาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้า แขน ขาครึ่งซีกของร่างกาย ทำให้พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวทันทีทันใด เดินเซ ทรงตัวลำบาก อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและมีโอกาสเป็นซ้ำได้ถ้ายังกลับไปทำพฤติกรรมแบบเดิมด้วยค่ะ

 

4.โรคหลอดเลือดแดงโป่งพองปริแตก โรคนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้และสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายด้วยค่ะ โรคหลอดเลือดแดงโป่งพองปริแตกที่เกิดจากผนังของเส้นเลือดบางส่วนแตก แต่ไม่ได้ทะลุแตกออกมาข้างนอก จะไม่มีอาการแสดงใดๆ เมื่อมีอาการก็หมายความว่าเลือดได้แตกทะลุออกมาแล้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองปริแตกคือโรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย อายุที่มากขึ้น

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

อาการสำคัญของโรคหลอดเลือดแดงโป่งพองปริแตกคือ เจ็บหน้าอกร้าวไปถึงด้านหลังปวดหลัง บางรายปวดร้าวถึงช่องท้อง โรคนี้ควรมาโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเพราะสามารถช๊อคและเสียชีวิตได้

 

5.โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เรื่องนี้มักเกิดมาจากโรคหลอดเลือดแดงแข็งมาก่อนทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังส่วนปลายพวกปลายมือปลายเท้าไม่ดีไม่เพียงพอ เวลาเดินเกิดการเจ็บ หากตีบตันมากทำให้แขนและขามีสีคล้ำได้

อาการสำคัญของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ 50%ไม่แสดงอาการ แต่พบได้ด้วยการตรวจสมรรถภาพของลอดเลือดเมื่อเส้นเลือดตีบมากขึ้นๆเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนนั้นไม่พอผู้ป่วยจะมีอาการเป็นตะคริว ปวดน่อง ชาเท้า อ่อนแรง ปวดเมื่อเดิน ถ้าเป็นมากขึ้นแม้ขณะพักก็ยังมีอาการปวด ถ้าเกิดที่สมองทำให้เป็นโรคสมองขาดเลือด หรือถ้าเป็นที่หัวใจจะทำให้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ
 
ภาพ:จากอินเตอร์เนต
สิ่งที่สิ่งป้องกันโรคโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ คือควรดูแลรักษาหลอดเลือดแดงให้อยู่ในสภาพที่ดีมีความยืดหยุ่นที่ดี แข็งแรงไม่เปราะง่าย มีความสมบูรณ์ของผนังหลอดเลือด การป้องกันที่ดีคือควรรักษาระดับไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คนที่อายุน้อยกว่า 60 ปี พบโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบน้อยกว่า 3% แต่ในคนที่อายุมากกว่า 70 ปี พบมากกว่า 20% และโอกาสในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบของผู้หญิงและผู้ชายไม่มีความแตกต่างกัน
 
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเรื่องโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อขาเป็นประจำ เดินเร็วๆ หรือวิ่งเหยาะๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที ทำให้หลอดเลือดที่ขา มีการสร้างขึ้นใหม่ ช่วยทำให้เดินได้นานขึ้น ปวดน้อยลงด้วยค่ะ และควรหยุดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ควบคุมระดับน้ำตาล ควบคุมไขมัน
 
6.โรคลิ้นหัวใจ โรคลิ้นหัวใจมีทั้งลิ้นหัวใจตีบและลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากกรรมพันธุ์ การอักเสบของลิ้นหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก การเกิดความผิดปกติโรคลิ้นหัวใจอาจเกิดที่ลิ้นใดลิ้นหนึ่งหรือทั้ง 4 ลิ้นก็ได้ค่ะ
ภาพ:จากอินเตอร์เนต
อาการของโรคหัวใจมีหลายอาการ เช่นเหนื่อยง่ายเป็นขณะออกกำลังกายทำกิจกรรมหรือบางคนเป็นมากอยู่ในช่วงพักก็มีอาการ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ เท้าบวม ปวดหน้าอกลามไปที่แขนซ้ายหรือที่หน้าท้อง หัวใจจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดให้เพียงพอ โรคนี้อาจรักษาให้หายได้โดยใช้ยาและการผ่าตัดเพื่อให้ไม่เกิดการคั่งของเลือดที่ปอด
 

 

7.โรคเยื่อหุ้มหัวใจ โรคนี้อาจจะเกิดจากการอักเสบ หรือ มีน้ำขังในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจไม่ขยาย อาการของโรคเยื่อหุ้มหัวใจคือจะมีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ไอ หายใจลำบาก ความดันโลหิตต่ำ เป็นลมหรือจนหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

สาเหตุของการเกิดโรคเยื่อหุ้มหัวใจ คือจากโรคมะเร็งชนิดต่างๆ โรคปอด โรคติดเชื้อ โรคออโต้อิมมูน โรคไต โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย การขอดฮอร์โมนไทรอยด์ ผลข้างเคียงจากการฉายแสงหรือให้เคมีบำบัด การประสบอุบัติเหตุที่หัวใจหรือแม้กระทั่งการผ่าตัดหัวใจ

 

8.โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โรคอาจจะเกิดที่ลิ้นหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ หากเป็นมากก็อาจจะเสียชีวิตหลังคลอด แต่บางคนเป็นน้อยไม่มีมีอาการ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ซึ่งตรวจพบภายหลัง

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

สาเหตุของโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดจากพันธุกรรม การได้รับยาหรือสารเสพคิด การได้รับรังสี การตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก

อาการโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดมีทั้งชนิดเขียวเช่นที่ลิ้น เยื่อบุตา ริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้าเป็นสีคล้ำและไม่เขียว มีอาการเหนื่อยง่าย ดูดนมนาน หายใจเร็ว หายใจแล้วจมูกบาน ซี่โครงบาน เป็นหวัดหรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจบ่อยๆ หัวใจเต้นเร็วและแรง หน้าอกผิดรูป การเจริญเติบโตน้อยกว่าเกณฑ์ นิ้วปุ้ม

 

9.ภาวะหัวใจยุดเต้นเฉียบพลัน คือภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบึบตัวหรือหยุดเต้นทันทีเป็นอันตรายที่ไม่มีสัญญาณเตือน ภาวะแทรกซ้นนี้มักเกิดจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉืยบพลัน หัวใจจะขาดช่วงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ การเสียความรู้สึกตัวของหัวใจทำให้หัวใจไม่บีบตัวเลือดหยุดการไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างร่างกาย ต้องได้รับการรักษาให้ทันท่วงทีภายในไม่กี่วินาที ภาวะนี้ทำให้เกิด เสียการทำงานของหัวใจและการหายใจ หากได้รับการปฐมพยาบาลหรือทำการรักษาไม่ทันอาจเป็นเหตุให้เสียชีวิตลงได้

 

ภาพ:จากอินเตอร์เนต

เราอาจให้ความช่วยเหลือได้โดยการช็อคด้วยกระแสไฟฟ้า Electrical Shock จากเครื่องมือที่เรียกว่า Defibrillator และที่น่ากลัวกว่านั้นคือในผู้ป่วยบางรายที่ภายนอกร่างกายดูแข็งแรงไม่เคยเจ็บป่วยหนักๆมาก่อนก็สามารถเสียชีวิตจากภาวะหัวใจยุดเต้นเฉียบพลันได้ หากได้รับการช่วยเหลือไม่ถูกวิธีหรือไม่ทันเวลา…ปัจจุบันเราอาจจะพบเครื่องมือชนิดนี้ตามสถานที่ที่เป็นสาธารณะสามารถใช้งานได้โดยทั่วไปที่เรียกว่าเครื่องกระชากหัวใจ AEDs ข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีการเกิดภาวะนี้มากถึงปีละ 300,000 – 400,000 ราย โดยจะพบมากในกลุ่มที่เป็นนักกีฬา 

เราคงไม่ต้องรอให้เกิดวิกฤติอย่างที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดด้านบน หลายคนอาจไม่รู้ว่าการปล่อยให้ผลเลือดผิดปกติเนิ่นนาน เกิดอาการแวดล้อมของหลอดเลือดและหัวใจ ส่งผลเรื่องอันตรายหนักหนาแค่ไหน ความผิดปกติที่เรามองเห็นว่าเล็กน้อยอาการไม่ชัดเจนได้ทิ้ง ระเบิดเวลา เอาไว้ทุกจุดในร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก การดูแลตัวเองในเรื่องนี้ต้องปรับทุกมิติเพื่อให้ร่างกายรอดพ้นอันตรายนี้เพื่อตัวเองและเพื่อความสุขของครอบครัวคุณค่ะ…

 ราคาและช่องทางติดต่อคลิ๊กที่ช่องสังซื้อคะ
 https://www.gellove.com/main/how-to-buy/ ‎