อาการเล็กๆก่อนเป็นโรคไตวายเรื้อรังไว้ใจไม่ได้สักอาการเดียว

 

20170128_140131

ดูเอาเถอะ!!อาการเล็กๆก่อนเป็นโรคไตวายเรื้อรังไว้ใจไม่ได้สักอาการเดียว

#โรคไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)

คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด เป็นต้น

โรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตวายเรื้อรัง
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆตีบและก่อให้เกิดโรคต่างๆเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไต มีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคเหล่านี้คือ

ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงจากการทานอาหาร การสูบบุหรี่ และไม่ออกกำลังกาย

-ความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยประมาณร้อยละ 50-70 จะมีความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 mmHg
ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุและเป็นทั้งโรคแทรกซ้อนของไตเสื่อม ความดันโลหิตที่สูงยังทำให้ไตเสื่อมเร็วมากขึ้น และเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นจะต้องรักษาโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตไปพร้อมกันด้วย
-ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
-อายุมากมีความเสื่อมตามวัย
-น้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
-สูบบุหรี่
ไขมันในเลือดสูง
-คนที่ไม่ออกกำลังกาย
-ไตอักเสบหรือมีถุงน้ำในไต

ทำไมการตรวจพบโรคไตเร็วจึงสำคัญ?

หลายคนไม่ทราบด้วยว่าตนเองเริ่มเป็นโรคไตอยู่ เพราะอาการโรคไตอาจมีอาการแย่ลงได้ทีละน้อยโดยไม่รู้ตัวจนกว่าจะมีอาการแย่มากแล้ว ดังนั้น การตรวจพบและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ อาจทำให้อาการโรคไตวายเรื้อรังคงตัวและหายได้ หากปล่อยไว้จนมีอาการมากขึ้นจะนำไปสู่ภาวะไตวาย ซึ่งไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จำเป็นต้องได้รับการรักษา เช่น ฟอกเลือด หรือเปลี่ยนไตไปเลย สถิติตอนนี้คือคนเป็นโรคไตในประเทศไทยมีมากถึงแปดล้านคน 

ตรวจสุขภาพเกี่ยวกับไตมีอะไรได้บ้าง
1.ตรวจวัดความดันโลหิต
2.หาโปรตีนรั่วในปัสสาวะ

17-01-18-07-58-23-288_deco

โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับร่างกาย โปรตีนที่ผ่านการกรองแล้วจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โปรตีนจะรั่วออกมากับปัสสาวะ เรื่องนี้รู้ได้จากการตรวจปัสสวะและพบปัสสวะมีฟอง
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะนั้นทำได้หลายวิธีด้วยกัน หากไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ได้ตรวจพบโปรตีนมาแล้วสองครั้ง หมายความว่ามีโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคไตวายเรื้อรัง
3.ตรวจเลือดตามปกติเพื่อหาค่าครีเอตินิน (creatinine) ซึ่งเป็นของเสียที่มาจากการทำงานของกล้ามเนื้อ ผลที่ได้จากการตรวจหาค่าครีเอตินินนั้นจะใช้ในการประเมินค่าการทำงานของไตหรือ GFR (glomerular filtration rate) ค่าการทำงานของไตนี้จะบอกว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด ค่าการทำงานของไตที่ต่ำอาจหมายถึงไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือเสียหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย

วิธีการดูแลและการป้องกันรโรคทำได้ดังนี้นะคะ

1.ควบคุมโรคเบาหวานให้ปกติโดยควบคุมด้วยอาหารแทนการควบคุมด้วยยาให้ได้

โรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆตีบและเกิดโรคเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และรวมถึงโรคไตวายเรื้อรังด้วย
โดยมีปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดโรคเหล่านี้คือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย
2.ควบคุมความดันโลหิตสูงให้ใกล้เคียงหรือเป็นปกติ ควบคุมด้วยอาหารและการออกกำลังกายแทนยาด้วยเช่นกัน
3.โรคหัวใจ
4.โรคเก๊าต์ (gout)
5.โรคปวดเส้นหรือปวดกล้ามเนื้อที่ต้องรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ

ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังในระยะเริ่มแรกหลายท่านอาจไม่มีอาการรุนแรง จนกระทั่งโรคมาถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อาจมีอาการโรคไตเริ่มแรกดังต่อไปนี้

-เหนื่อย อ่อนแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
-คิดอะไรไม่ค่อยออก
-ตุ่มรับรสของลิ้นทำงานเปลี่ยนไป เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด
-ชาปลายมือปลายเท้า
-ผิวแห้ง คันตามตัว
-กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน
-ปวดศีรษะ
-ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า
-เท้าและข้อเท้าบวม
-การบวมของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้าตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า
-ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
-ขี้หนาว
-อาการปวดบั้นเอวหรือบริเวณสีข้าง

 

เมื่ออาจเป็นโรคไตวายเรื้อรังแพทย์จะทำการตรวจที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการรักษา
โดยจะมีการตรวจดังต่อไปนี้
1.คำนวณค่าการทำงานของไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบ่งบอกว่าไตยังทำงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้แพทย์ทราบได้ถึงระยะของโรคไตและช่วยในการวางแผนการรักษา
2.ทำการตรวจอัลตราซาวนด์หรือ CT scan เพื่อถ่ายภาพไตและทางเดินปัสสาวะ เพื่อพิจารณาขนาดของไต 

ระยะของโรคและรายละเอียดของระยะต่างๆ
ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่ออาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน

ค่าการทำงานของไต (GFR)
》》ระยะที่ 1
ไตเริ่มเสื่อม (มีโปรตีนในปัสสาวะ) ค่า GFR ปกติ90 หรือมากกว่า

》》ระยะที่ 2
ไตเสื่อม ค่า GFR ลดลงเล็กน้อย60-89

》》ระยะที่ 3
ค่า GFR ลดลงปานกลาง30-59

》》ระยะที่ 4
ค่า GFR ลดลงมาก15-29

》》ระยะที่ 5
ไตวายน้อยกว่า 15

fb_img_1485475380035

ครีเอตินีน Creatinine =Cr (เป็นการตรวจสอบสมรรถนะการทำงานของไต)
ค่าปกติของ Creatinine

ในผู้ชาย Creatinine : 0.6 – 1.2 mg/dL

ในผู้หญิง Creatinine : 0.5 – 1.1 mg/dL

ในวัยรุ่น Creatinine : 0.5 – 1.0 mg/dL

ในเด็ก Creatinine : 0.3 – 0.7 mg/dL

เครดิต : วีดีโอรายการอาหารต้านโรค

อาหารที่ควรดูแลเมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

การดูแลบำบัดเรื่องโรคไตวายเรื้อรังนอกจากจะต้องรู้และเข้าใจถึงสาเหตุแล้ว เราต้องปฏิบัติตัวทานอาหารให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้ไตเสื่อมมากขึ้นด้วยคะและเราต้องปฏิบัติหลายๆอย่างพร้อมกัน

ดูแต่ละข้อกันเลยนะคะ

-ทานโปรตีนให้น้อย
-ทานแป้งให้มากถ้าเป็นไตจากเบาหวานต้องปรึกษาแพทย์เรื่องการทานแป้งด้วยนะคะ
-ใช้น้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันจากพืชแทนจากสัตว์ เลี่ยงกะทิ
-ลดอาหารเค็มหรือเลี่ยงเค็ม(ทำให้ความดันโลหิตสูง บวม)
-งดอาหารตากแห้ง งดอาหารแปรรูป
-ทานอาหารไม่ปรุงเพิ่ม
-เลี่ยงอาหารกึ่งสำเร็จรูป บะหมี่ โจ๊ก
-ไม่ทานอาหารสำเร็จรูปบรรจุถุง ขนมกรุบกรอบ 
-งดเครื่องปรุงรสผงชูรสแบบผง แบบก้อน ผงฟู
-งดอาหารหมักดองเค็ม

การใช้ทางเลือกฟื้นฟูไตจากผลิตภัณฑ์เอเจลมีตัวอย่างผลลัพธ์เรื่องการป้องกันและฟื้นฟูเมื่อเป็นโรคไตวายเรื้อรัง

 

https://www.gellove.com/useagel/chronic-renal-failure03/ ‎

 

1485581170359

1485581195607

1485581180763

ศึกษาAgel umi /hrt ช่วยเรื่องการทำงานของไต การทานเอเจลสองตัวคู่กันเป็นการฟื้นฟูไตที่เสื่อมไปแล้ว ด้วยการเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์ในทุกอวัยวะและเซลล์ไต เมื่ออายุมากขึ้นไตย่อมมีความเสื่อมถอยลงและหากมีโรคเสื่อมร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันสูง หัวใจ มีความจำเป็นต้องควบคุมผลเลือดให้เป็นปกติด้วยยา ไตก็จะยิ่งทำงานมากขึ้นไตก็จะยิ่งเสื่อมลงตาม ไตและหลอดเลือดต้องได้รับสารอาหารดีๆมาฟื้นฟูเพื่อให้สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น

เพิ่มเติมได้จากลิ้งนี้คะ>>คลิ๊กที่รูปด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์

care-agel-hrt

เพิ่มเติมได้จากลิ้งนี้คะ>>คลิ๊กที่รูปด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดผลิตภัณฑ์con_umi

8โรคไตผิดปกติ

ทางการแพทย์สามารถแบ่งความผิดปกติของไตได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่
1.โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ
2.โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ
3.โรคไตวายเฉียบพลัน
4.โรคไตวายเรื้อรัง
5.โรคติดเชื้อของไตและท่อทางเดินปัสสาวะ
6.โรคความผิดปกติของท่อไตและถุงน้ำ
7.โรคนิ่ว
8.โรคมะเร็ง

ความผิดปกติของไตมีหลายอย่างดังที่กล่าวข้างบน อย่าปล่อยให้ชีวิตคุณผูกติดกับความไม่เป็นอิสระ หากจำต้องดูแลรักษาด้วยวิธีการที่ยังไงก็ต้องยอม ปรับก่อนสาย เลือกก่อนหมดหนทาง การกินเปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนแน่นอนคะ

 

 ดูแลไตป้องกันไตวายด้วยผลิตภัณฑ์Agelเอเจลราคาพิเศษ

สินค้า ราคาปกติ ราคาพิเศษ
UMI 4500 3050
HRT 3800 2800

button_buy