โรคหลอดเลือดสมอง
ในปัจจุบันเห็นเป็นกันอยู่จำนวนมาก และส่งผลต่อการเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ หลายโรงพยาบาลจัดตั้งทีมให้การพยาบาลเร่งด่วนสำหรับเรื่องนี้ มีทีม Stroke ที่มีความพร้อมในการดูแลอย่างจริงจังทันเวลา เพราะถ้าให้การพยาบาลทันท่วงทีถ้าให้ยาทันภายในเวลา4ชั่วโมงครึ่ง เราจะรอดจากการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงนี้ เพราะเซลล์สมองจะไม่ขาดเลือดไม่ขาดออกซิเจน คุณๆลองนึกภาพการจราจรบ้านเรา เทียบกับระยะทางในการไปโรงพยาบาลที่มึความพร้อม และใกล้ที่สุดในเวลาที่มี…..พอไหวไหมคะ?
》》โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) เป็นชนิดของหลอดเลือดสมองที่พบได้กว่า 85% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เกิดจากอุดตันของหลอดเลือดจนทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดร่วมกับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือดจนทำให้เกิดเส้นเลือดตีบแข็ง โรคหลอดเลือดสมองชนิดนี้ยังแบ่งออกได้อีก 2 ชนิดบ่อย ได้แก่
1.โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เกิดจากภาวะไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังสมองได้
2.โรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic Stroke)
》》โรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (Hemorrhagic Stroke) เกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองแตก หรือฉีกขาด ทำให้เลือดรั่วไหลเข้าไปในเนื้อเยื่อสมอง แบ่งได้อีก 2 ชนิดย่อย ๆ ได้แก่
1.โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysm) เกิดจากความอ่อนแอของหลอดเลือด ข้อนี้สำคัญไม่แพ้หลอดเลือดตีบ แตก ตัน เพราะส่งผลกระทบให้ถึงกับเดินไม่ได้ก็มี
2.โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ (Arteriovenous Malformation) ที่เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมองตั้งแต่กำเนิด
ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack: TIA) ซึ่งเป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงชั่วระยะหนึ่ง จากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน แต่จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก่อนที่ลิ่มเลือดจะสลายตัวไป และกลับเข้าสู่ภาวะปกติ เป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
โรคหลอดเลือดสมองรักษาหายได้ โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ๆ แต่หลังจากรักษาหายแล้ว ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นปกติได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายของสมอง และการทำกายภาพบำบัด
อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
อาการที่เกิดขึ้นจะอยู่กับความเสียหายของสมอง โดยอาการของโรคหลอดเลือดสมองทั้ง 2 ชนิดจะค่อนข้างคล้ายกัน แต่ชนิดเลือดออกในสมองจะมีอาการปวดศีรษะและอาเจียนร่วมด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีหลายอาการร่วมกัน เช่น
- ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอ่อนแรงหรือมีอาการอัมพฤกษ์ และมีอาการเหน็บชาร่วมด้วย
- มีปัญหาการพูด หรือการเข้าใจคำพูดผิดเพี้ยน
- มีปัญหาการทรงตัว บ้านหมุน
- สูญเสียการมองเห็นบางส่วน หรือเห็นภาพซ้อน
- มีอาการมึนงงอย่างรุนแรง
นอกจากนี้ ก่อนเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (TIA) ซึ่งมักจะกินเวลานาน หลังจากนั้นอาการจะหายไป ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนบอกถึงอันตราย เพราะภาวะดังกล่าวนั้นเป็นการแสดงให้ผู้ป่วยเห็นว่าเริ่มมีความผิดปกติที่หลอดเลือด ควรรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน โดยอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะนี้มีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ หรือสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวและความรู้สึกของร่างกายซีกใดซีกหนึ่งชั่วขณะหรือมีการเห็นภาพซ้อน บ้านหมุน สูญเสียการทรงตัว หรือมีปัญหาในการพูดสื่อสารหรือเข้าใจคำสั่งของผู้อื่นได้ชั่วขณะ เมื่อมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์โดยเร็ว
สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ถ้านเรื่องของสาเหตุแล้วไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke)หรือโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมอง (hemorrhagic Stroke)
มีสาเหตุรวมมาจากเรื่องเดียวกันคือ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหลาย พวกโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดมักเกิดจากภาวะคอเลสเตอรอลสูง ส่วนโรคหลอดเลือดสมองชนิดเลือดออกในสมองมักเกิดจากความดันโลหิตสูงที่มาจากความเครียด และยังอาจเกิดจากภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง และมีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
ทั้งนี้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองยิ่งจะเพิ่มสูงขึ้นหากมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จะเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนในวัยอื่น ๆ แต่ก็อาจพบได้ในคนวัยอื่นได้ด้วยเช่นกัน
- ประวัติครอบครัว ผู้ที่มีญาติพี่น้องใกล้ชิดป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นอีกด้วยเนื่องจากเป็นด้านพันธุกรรม
- สีผิว ผู้ที่มีสีผิวเข้มเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง สืบเนื่องจากคนที่มีผิวสีเข้มนั้นมีแนวโน้มป่วยด้วยโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเมื่อเทียบกับคนที่มีสีผิวที่อ่อนกว่า
- ประวัติการรักษา ผู้ที่เคยมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ หรือหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น เนื่องจากเคยมีภาวะหลอดเลือดอุดตันมาก่อน ในผู้ที่เคยมีปัญหานี้ควรที่จะดูแลการทานอาหารให้ถูกต้อง ทานยาอย่างเคร่งครัด ป้องกันการเป็นซ้ำ และป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรค
ใครที่มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจและติดตามอาการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคความดันโลหิตสูงด้วย หากพบว่าตัวเองมีอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดปกติ ควรรีบติดต่อแพทย์โดยเร็ว เพราะยิ่งปล่อยไว้ ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะยิ่งเพิ่มขึ้น
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
การซักประวัติและตรวจร่างกาย
การตรวจเลือด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
การเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดแดงที่คอ (Carotid Ultrasound)
การฉีดสีที่หลอดเลือดสมอง (Cerebral Angiogram)
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram)
การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) การรักษาจะเน้นไปที่การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ และป้องกันอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
-ยาละลายลิ่มเลือด
-ยาต้านเกล็ดเลือด เป็นยาที่ช่วยป้องกันการก่อตัวของเกล็ดเลือด เช่นยาแอสไพริน
-ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ใจสั่น หรือผู้ที่เคยมีประวัติการเกิดลิ่มเลือด จะได้ยาวาฟาริน ยาอะพิซาแบน ยาดาบิกาทราน ยาเอโดซาแบน หรือยาริวาโรซาแบน
-ยาลดความดันโลหิต เพื่อลดภาวะเลือดออกในสมอง
-ยาลดไขมันในเลือด หากระดับไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยจะต้องใช้ยาลดไขมันในเลือดเพื่อป้องกันไขมันสะสมกลายเป็นคราบพลัคเกาะที่ผนังหลอดเลือด จนกลายเป็นสาเหตุให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด
การรักษาอื่น ๆ ได้แก่
- การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (Carotid endarterectomy)
- การผ่าตัดเพื่อกำจัดลิ่มเลือด (Thrombectomy)
- การผ่าตัดหยุดเลือด (Surgical Clipping) แพทย์จะนำคลิปขนาดเล็ก ๆ หนีบที่บริเวณฐานของหลอดเลือดที่โป่งพองและมีเลือดออก
- การใส่ขดลวด (Endovascular Embolization) เป็นวิธีการรักษาด้วยการสวนท่อขนาดเล็กเข้าไปที่หลอดเลือดสมองผ่านทางขาหนีบ จากนั้นขดลวดจะเข้าไปยังหลอดเลือดที่โป่งพอง ขดลวดนี้จะเข้าไปขัดขวางการไหลเวียนเลือดตรงบริเวณที่เป็นปัญหา ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- การผ่าตัดกำจัดเส้นเลือดที่มีปัญหา (Surgical AVM Removal) ในกรณีที่ผู้ป่วยมีหลอดเลือดสมองที่ผิดปกติ แพทย์จะผ่าตัดเพื่อนำส่วนที่ผิดปกติออก
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดสมอง (Intracranial Bypass)ทำทางเดินเลือดใหม่
- การผ่าตัดด้วยรังสี (Stereotactic Radiosurgery) ผ่าตัดโดยใช้รังสีเพื่อซ่อมแซมหลอดเลือดที่มีความผิดปกติ
การดูแลเพื่อความปลอดภัยอื่นๆที่มีความจำเป็น เช่น
การให้อาหารทางสายยาง การให้สารอาหารเสริม การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้ออกซิเจน
ในบางรายอาจต้องใช้ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด (Compression Stockings) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดที่บริเวณขา ซึ่งจะไปอุดตันหลอดเลือดที่เชื่อมต่อกับหัวใจและสมอง จนทำให้อาการรุนแรงมากขึ้น
การดูแลรักษาที่รวดเร็วจะช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 6 เดือน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเสียหายที่เกิดขึ้น และการทิ้งร่องรอยการเจ็บป่วยไว้เช่น
อาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคหลอดเลือดสมองดังนี้
- อัมพฤกษ์ที่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย หรือเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่ใบหน้า และแขน การรักษาด้วยการกายภาพบำบัด อาจทำให้กลับมาปกติได้
- พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการกลืนอาหาร โรคหลอดเลือดสมองอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียการควบคุมกล้ามเนื้อภายในปากและลำคอ ลิ้นจะแข็งกลืนอาหารลำบาก สูญเสียการพูดและการเข้าใจคำพูด บำบัดด้วยการอ่านหรือเขียนหนังสือ
- สูญเสียความทรงจำ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจจำช้า สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้และการทำความเข้าใจ
- ปัญหาทางด้านอารมณ์ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้อาจมีอารมณ์รุนแรง หรือมีภาวะซึมเศร้า
- อาการเหน็บชา หรือสูญเสียความรู้สึกที่บริเวณอวัยวะ ซึ่งได้รับผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมองได้
- ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ มีสาเหตุจากการบาดเจ็บภายในสมอง ที่เรียกว่าอาการปวดเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลาง
- มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป มีปัญหาในเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิต และความสามารถในการดูแลตัวเองในชีวิตประจำวัน ต้องจัดหาผู้ช่วยเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา
9พฤติกรรมที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดสมอง
1.ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ปล่อยให้ตัวอ้วน
2.ควบคุมความดันโลหิตสูง ไม่เกิน 130/90 มิลลิเมตรปรอท เลี่ยงอาหารปรุงแต่ง อาหารรสจัด การตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจะช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
3.ควบคุมระดับไขมันในเลือดไม่เกิน คลอเรสเตอรอล 200 ควรตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างน้อยทุก 6 -12 เดือน หากเป็นผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีภาวะคอเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการ
4.ทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์สูงขึ้น
5.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้ปกติ FBS ไม่เกิน100 – 110
หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน แพทย์จะตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าผลออกมาแล้วพบว่าเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิต นอกจากนี้ ควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยควบคุมอาการได้ และทำให้ความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองลดลง
6.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาทิตย์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งคะ 30-40 นาที หรือ การออกกำลังกายที่เหมาะสมคือ 2.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนเด็กและวัยรุ่น ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง
7.ขับถ่ายทุกวันให้เป็นเวลา ช่วงเช้าไม่เกินเวลา 09.00น.
8.พักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน
9.บริหารอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใส
งดสูบบุหรี่
ควบคุมปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ หากเลี่ยงไม่ได้ผู้ชายไม่ดื่มเกินครั้งละ2แก้ว ผู้หญิงครั้งละ1แก้ว
รักษาโรคหัวใจอย่างต่อเนื่อง หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานยา และการผ่าตัด เพราะการรักษาที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองได้
พบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง ควรพบแพทย์และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
ในส่วนการฟื้นฟููููป้องกััััันเราสามารถใช้สารอาหารประเภที่มีคุณสมบัติที่เป็นสารอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องโรคหลอดเลือดสมองค่ะ ผลิตภัณฑ์เอเจลก็เช่นกัน ทั้งตัวอูมิและฮาร์ท มีสารอาหารหลักหลายชนิดที่มีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูหลอดเลือดทั้งหลายให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นสมบูรณ์ขึ้น จนเราสังเกตุความเปลี่ยนแปลงได้ โดยตรวจสอบและวัดผลจากการตรวจเลือด เมื่อเราใช้ร่วมกับการรักษาของแพทย์
ขอแนะนำให้มองแบบนี้ค่ะว่า โรคหลอดเลือดสมอง ทั้งหลายชนิด มีระยะเวลาในการสะสมอาการของโรค กว่าเราจะรู้ตัว หลอดเลือดก็มีความเสื่อมไปมาก ทั้งจากความเสี่ยงจากอาหารที่ทาน ขาดการดูแลตัวเองในหลายๆด้าน พอดูแล้วหลายต่อหลายคน กว่าจะรู้ตัวก็ทำให้เกิดปัญหาที่แก้ยาก และการตรวจวินิจฉัยแต่ละชนิดเพื่อให้รู้แน่ชัดก็ใช้เวลา แพทย์เฉพาะทางก็น้อย เลือกที่จะป้องกันๆดีกว่าค่ะ เพราะในชั่วโมงนี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการป้องกันแล้ว หรือเราควรฟื้นฟูด้วยสารอาหารที่เหมาะสมควบคู่ไปด้วยก็จะยิ่งดี