เครดิตภาพจาก : อินเตอร์เนต
อายุ 40 ระวังโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง Atherosclerosis
พบโรคหลอดแดงหัวใจแข็งประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 20% ของผู้ที่เสียชีวืตทั้งหมด เสียชีวิตจาก
สาเหตุนี้
การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงเกิดการอักเสบหรือมีการบาดเจ็บมักเกิดจาด ภาวะไขมันไม่ดีใน
เลือดสูง (LDL) ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดมีเซลล์เม็ดเลือดขาว แคลเซียม หรือสารต่างๆเข้าไปเกาะ ตำแหน่งที่
เกิดการอักเสบเกิดเป็นพลาค (Plaque) นี้ จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นลดลง ทำให้ท่อ
ภายในตีบ ส่งผลให้อวัยวะต่างๆขาดเลือดไปเลี้ยง
โรคหลอดแดงหัวใจแข็งเป็นโรคหัวใจชนิดร้ายแรง โดยเฉพาะทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Coronary artery disease –CAD),
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Heart Disease) และโรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral Arterial Disease) ทำให้
เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายในที่สุด
การดูแลหลอดเลือดเป็นการดูแลในระยะยาว เมื่อเรารู้ถึงปัจจัยเสื่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมเราต้องลดปัจจัยเหล่านั้นให้ได้ถึงจะ
ปลอดภัยคะ
เราพบปัจจัยเสี่ยงของ Arteriosclerosis เกี่ยวกับหลายเรื่องคะ
1.ไขมัน เราควรควบคุมไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปัจจัยเสี่ยงของ Arteriosclerosis จากระดับไขมันผิดปกติ
|
ค่าระดับไขมัน (มิลลิกรัม/เดซิลิตร ) |
ระดับไขมันคลอเลสเตอรอล (Total Cholesterol) |
ไม่ควร สูงเกิน 200 |
ระดับแอลดีแอลคลอเลสเตอรอลสูง (ไขมันชนิดไม่ดี ) (LDL-Cholesterol) |
ไม่ควรสูงเกิน 130 |
ระดับเอชดีแอลคลอเลสเตอรอลต่ำ (ไขมันชนิดดี ) (HDL-Cholesterol)
|
ผู้ชาย ไม่ควรต่ำกว่า 40-50 ผู้หญิง ควรอยู่ที่ระดับ 50-60 |
ระดับไขมันไตรกรีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) |
ไม่ควรสูงเกิน 200 |
2.โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้มากกว่าผู้ที่มีความดันโลหิตปกติ อัตราการตายก็
สูงกว่าด้วย แต่ที่สำคัญ*คนเป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่กลัวคะ อันนี้แหละค่ะน่ากลัวมาก
3.โรคเบาหวาน (Diabetes Millitus) ทำให้เซลล์ผนังหลอดเลือดผิดปกติทำใก้เกิดสภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง โอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น
3-5 เท่า ในปัจจุบันหลายคนกลับคิดว่าระดับน้ำตาลสูงเดี๋ยวก็ลง ลองปรับอาหารเอง แต่ลองทำดูก็ทำได้ไม่สม่ำเสมอ ทำได้บ้างไม่
ได้บ้าง สุดท้ายก็คุมไม่ได้เหมือนเดิมค่ะ
4.อาหาร (Dietary) ควรทานเพื่อป้องกันหลอดเลือดแดงหัวใจแข็งอาหารกากใย ทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว งดอาหารเครื่องใน เนื้อสัตว์ติดมัน หนังสัตว์ ไข่แดง หมึก
กุ้ง หอยนางรม อาหารไขมันสูงตัวการสำคัญนะคะ
เครดิตภาพจาก : อินเตอร์เนต
5.การขาดการออกกำลังกาย (Physical Inactivity) ทำให้ HDL ต่ำ เมื่อพบว่าร่างกายเริ่มมีความผิดปกติ จากเริ่มมีอาการ
หรือจากผลเลือดผิดปกติแสดงว่าร่างกายไม่ได้รับการดูแล ควรหันมาสนใจเรื่องการออกกำลังกาย เลือกแบบที่ไหว แบบที่ชอบ
ก่อน ทำให้ประจำสม่ำเสมอ แล้วค่อยๆเปลื่ยนชนิดไปหลายๆแบบ ทั้งการเพิ่มความแข็งแรง การเพิ่มความยืดหยุ่น หรือการออก
กำลังกายเพื่อให้หัวใจได้ทำงานอย่างต่อเนื่องค่ะ
6.โรคอ้วน (Obesity) หรือภาวะน้ำหนักเกิน (Over-weight) มักเป็น โรคความดันโลหิสูง โรคเบาหวานและคนที่มีระดับ
ฮอร์โมนอินซูลินในเลือดสูงซึ่งทำให้เกิดการกระตุ้นให้ผนังหลอดเลือดเจริญมากกว่าปกติทำให้หลอดเลือดตีบแคบ
เป็นโรคความดันโลหิสูง ไขมันในเลือดสูงมากกว่าคนปกติ
7.การสูบบุหรี่ ทำให้ HDLต่ำ, ทำให้เกิดออกซิเดชั่น LDL เกิดลิ่มเลือด,ผนังหลอดเลือดทำงานผิดปกติ เรื่องนี้ต้องขอกันเลยค่ะ
เพราะหลอดเลือดแดงแข็งจากสาร นิโคตินทำให้เกิดโรคหัวใจ, ทาร์เป็นอันตรายต่อปอด, คาร์บอนมอนอกไซด์ขัดขวางการ
ลำเลียงออกซินเจนของเม็ดเลือดแดงหัวใจต้องเต้นเร็วขึ้นและทำงานมากขึ้น, ฟอร์มาล์ดีไฮด์เป็นสารที่ใช้ดองศพมีการนำมาใช้ใน
ขบวนการผลิตบุหรี่ และสารอื่นๆที่เป็นอันตรายต่อปอด
โรคหลอดเลือดแดงแข็งเกิดที่ไหนก็ทำให้บริเวณนั้นเสียหาย เช่นที่สมอง ทำให้เส้นเลือดสมองตีบ เกิดบริเวณไตทำให้ไตวายเรื้อรัง
หรืออาจเกิดที่แขนขาก็อันตรายไม่แพ้กันคะ
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญคือทำให้เกิดหลอดเลือดโป่งพอง (Aneurysm) โดยเกิดจากเมื่อผนังหลอดเลือดแดงเปราะบางลงจากภาวะ
โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) หรืออื่นๆ จะทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นโป่งเป็นกระเปาะ เรียว่า Aneurysm ภาวะนี้
มักไม่มีอาการค่ะ แต่หากหลอดเลือดนี้เกิดการแตกออกอาจทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีที่สุด การฝึกลมหายใจ โยคะ ทำให้ลดระดับความเครียดทำให้ความดันโลหิตลดลง
ชั่วคราวได้ การดูแลเรี่องอาหารเป็นสิ่งที่ควรทำอีกเรื่องหนึ่งด้วยเช่นกันค่ะ
ไว้ใจให้ HRT ดูแลหัวใจและหลอดเลือด / UMI ฟื้นฟูหลอดเลือดที่เสื่อม
คลิ๊กที่รูปด้านล่างดูเรื่องสารอาหารฟื้นฟูหลอดเลือดและหัวใจต่อได้เลยคะ