อาหารและปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลให้ลดปัญหาหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง

  อาหารและปัจจัยแวดล้อมที่ส่งผลให้ลดปัญหาหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง หลายคนอาจมุ่งประเด็นการแก้ปัญหาเรื่องหลอดเลือดแดงหัวใจแข็งแล้ว มันคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ผู้เขียนต้องการค่ะ เพราะไม่มีอะไรจะดีเท่าการดูแลควบคุมปัญหานี้ให้ได้ การรับประทานอาหารประเภทใดที่ส่งผลดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพของหลอดเลือดบ้าง อย่างที่ทราบกันว่าควรงดอาหารที่เป็นพวกไขมันสัตว์ ลดแป้ง หรือทานแป้งที่ได้จากธัญพืชไม่ขัดสี งดครีม เนย หากจำเป็นที่จะทานพวกน้ำมันแนะนำให้เป็นน้ำมันมะกอก น้ำมันจากพืชอีกประเภทคือจากทานตะวัน ,flaxseed , การทานอาหารบางประเภทเช่น ชา กาแฟ เครื่องปรุงรส ของดอง อาหารเค็ม อาหารแปรรูปทุกชนิด เนื้อสัตว์ และน้ำตาลเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งค่ะ   เครดิตภาพ : จากอินเตอร์เนต สิ่งสำคัญที่จะต้องเลิกให้ได้คือเรื่องการสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะไปทำลายหลอดเลือดทุกที่ …

อายุ 40อัพ ระวัง!!โรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง

เครดิตภาพจาก : อินเตอร์เนต อายุ 40 ระวังโรคหลอดเลือดแดงหัวใจแข็ง Atherosclerosis พบโรคหลอดแดงหัวใจแข็งประมาณ 36% ของประชากรทั้งหมด และประมาณ 20% ของผู้ที่เสียชีวืตทั้งหมด เสียชีวิตจาก สาเหตุนี้    การเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดจากผนังหลอดเลือดแดงเกิดการอักเสบหรือมีการบาดเจ็บมักเกิดจาด ภาวะไขมันไม่ดีใน เลือดสูง (LDL) ทำให้กล้ามเนื้อผนังหลอดเลือดมีเซลล์เม็ดเลือดขาว แคลเซียม หรือสารต่างๆเข้าไปเกาะ ตำแหน่งที่ เกิดการอักเสบเกิดเป็นพลาค (Plaque) นี้ จะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดและทำให้หลอดเลือดยืดหยุ่นลดลง ทำให้ท่อ …

เส้นเลือดขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ

  เส้นเลือดขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) คือค่าความดันที่ต่ำกว่า 90 – 50 มิลลิเมตรปรอท ค่าความดันโลหิตต่ำมากๆเกิดอันตรายนะคะ เพราะการไหลเวียนเลือดช้าลง อวัยวะจะได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ที่สำคัญคือทำให้เกิดลิ่มเลือดได้ง่าย มาอีกแล้วคะ เรื่องลิ่มเลือด* ในเวปไซด์นี้เคยลงเนื้อหาเรื่องลิ่มเลือดไว้ ขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านคลิ๊กอ่านเพิ่มเติมได้นะคะว่าอันตรายอย่างไร   เรามักจะพบภาวะความดันโลหิตต่ำในคนที่อ่อนเเอ หรือในผู้สูงอายุ โรคความดันโลหิตต่ำมีทั้งแบบเรื้อรังและเฉียบพลันคะ โรคนี้ก็เป็นพันธุกรรมด้วย โดยมากมักเป็นแบบชนิดเรื้อรัง การเปลี่ยนอิริยาบทอย่างรวดเร็ว ก็ถือเป็นอีกสาเหตูหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตต่ำ   อาการของภาวะความดันโลหิตต่ำ อาจหน้ามืดเป็นลม ช๊อค …

จะเป็นอย่างไรเมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ (ซุปเปอร์บั๊ก)

จะเป็นอย่างไรเมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ใครเคยกินนยาปฏิชีวนะบ้าง ? ใครป่วยบ่อย ? ใครกินยาบ่อย….. ใคร ใคร ใครกัน………..   การที่เราเจ็บป่วยที่แน่ๆคือการที่เราต้องกินยาใช่ไหมค๊ะ แต่หากเรากินยานานๆ นอกจากจะหนีไม่ พ้นความเสื่ยงต่อการเกิดโรคไต โรคตับแล้ว ที่สำคัญไปกว่านั้นคือการเกิดภาวะเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาปฏิชีวนะก็ยิ่งเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตอย่างรวดเร็วอีกเรื่องหนึ่ง เชื้อแบคทีเรียดื้อยา ปฏิชีวนะ (เชื้อซุปเปอร์บั๊ก) เชื้อนี้เป็นเชื้อที่ติดต่อได้ทุกช่องทาง ทั้งทางอาหาร น้ำ การหายใจ การสัมผัส การผ่าตัด การสักลายบนผิวหนัง ศัลยกรรมความงาม โดยการสัมผัสสารคัดหลั่ง ของผู้ป่วย หลายคนติดเชื้อซุปเปอร์บั๊กจากการไปท่องเที่ยวโดยเฉพาะประเทศที่เป็นแหล่งระบาด   …

วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก

  วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก โรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตก มักเกิดจากความผิดปกติของผนังหลอดเลือดที่ผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดประกอบด้วยชั้นของผนัง 3 ชั้น 1.ผนังชั้นในสุด 2.ผนังชั้นกลาง ประกอบด้วยล้ามเนื้อเรียบ, เนื้อเยื่ออิลาสติก ชั้นนี้เรียงเป็นวง 3.ผนังชั้นนอก ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ, เส้นใยอิลาสติกและ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชั้นนี้เรียงไปตามยาวของเส้นเลือด   โรคเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตกเกิดจากผนัหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น จากหลากหลายสาเหตุ เช่นความเครียด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง กรรมพันธุ์ เช่นกลุ่มอาการ Marfan (ซึ่งจะมีความผิดปกติหลายระบบคือ มีรูปร่างสูงผอม แขนขาและ นิ้วยาว เพดานปากสูง สายตาผิดปกติ …

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม

  รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration AMD) โรคจอประสาทตาเสื่อมเป็นโรคที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจุบันพบคนเป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆ เดิมมักพบในคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป และพบมากขึ้นในอายุ 65 ปีขึ้นไปโรคนี้สามารถทำให้เราตาบอดอย่างถาวรได้ โรคจอประสาทตาเสื่อมถือเป็นโรคที่ต้องระมัดระวังอย่างมาก เราจะรู้ได้เมื่อมีความผิดปกติไปแล้ว แต่ในทางที่ดีที่สุดหากใครที่มีความเสี่ยงควรลดความเสี่ยงนั้น หาทางป้องกันเป็นทางที่ดีที่สุด อาการของโรคจอประสาทตาเสื่อม มองภาพเป็นจุดดำตรงกลางที่เป็นจุดภาพชัด (ลักษณะภาพที่ผิดปกติจะเป็นบริเวณกลางภาพ ภาพด้านข้างหรือ ตามขอบยังคงชัดเจนอยู่ ) หรือมองเห็นภาพบิดเบี้ยว มองเป็นเส้นคด ยิ่งมองใกล้ภาพยิ่งคดมากขึ้น มองภาพไม่ชัด และมักเป็นมากขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืดสลัวหรือเมื่อมองวัตถุเล็กๆ จำเป็นต้องใช้แสงสว่างมากขึ้น …

10.วิธีจัดการกับความเศร้า…ทำได้ไม่ป่วย

อย่าปล่อยให้อารมณ์เศร้าอยู่กับจิตใจเราไว้นาน (SADNESS) การบริหารอารมณ์เป็นการสกัดกั้นโรคหรือการเจ็บป่วยได้อย่างหนึ่ง หลายคนคิดว่าอารมณ์โกรธอย่างเดียวเท่านั้นที่ทำให้เราเจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็งได้ อารมณ์เศร้าก็เช่นกันนะคะที่สามารถทำให้เราป่วยได้ และเป็นได้หลายโรคทีเดียวคะ ความเศร้าสามรถเกาะอยู่กับใจเราได้ ความเศร้าเกาะกินจิตใจเราได้นานที่สุดกว่าอารมณ์อื่นๆ และความเศร้ายังจัดการได้ยากที่สุด หากเราปล่อยให้เศร้าอยู่นานจะส่งผลต่อบุคคลิกภาพ ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน จะเข้าข่ายเป็นความผิดปกติที่ทางด้าการแพทย์เรียกว่าโรคจิตโรคประสาท ความเศร้าถ้าปล่อยให้เป็นนานไม่ดีขึ้นเสียที เป็นจนนอนไม่หลับ หลับๆตื่นๆ หรือหลับไม่สนิท หรือเรียกว่ากินไม่ได้นอนไม่หลับ ความเศร้าจะทำให้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง อารมณ์เศร้าจึงทำให้เราเป็นโรคขาดสารอาหารได้ และอารมณ์เศร้าก็ทำให้ฮอร์โมนเราเปลี่ยนได้เช่นกัน อารมณ์เศร้าแล้วป่วยเป็นโรคหรือเป็นนโรคแล้วทำให้เราเศร้ามันเป็นสาเหตุซึ่งกันและกันคะ อารมณ์เศร้าอาจเป็นผลของโรคติดต่อหลายต่อหลายอย่าง, อาการทางจิตประสาท, การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศทั้งผู้หญิงและผู้ชาย, กลุ่มอาการที่เกี่ยวกับการทำงานของต่อมหมวกไตทั้งผลิตมากไปหรือผลิตน้อยไป, โรคมะเร็ง, โรคพาร์กินสัน, โรคระบบประสาทอักเสบ, โรคติดเชื้อจากภูมิต้านทานต่ำ, …

น้ำท่วมปอด แก้ยาก กว่าน้ำท่วมปาก

  น้ำท่วมปอด แก้ยาก กว่าน้ำท่วมปาก “โรคน้ำท่วมปอด”  เนื่องจากหัวใจกับปอดต้องทำงานประสานกัน เมื่อเกิดปัญหาจะส่งผลถึงกัน โรคน้ำท่วมปอดหลายคนสงสัยว่าน้ำนี้คือน้ำอะไร >> น้ำนี้คือน้ำ…เลือด…นั่นเองนะคะ ปอด….จะทำหน้าที่ในการฟอกเลือดเอาก๊าซออกซินเจนเข้ามา แล้วเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ออกไป พอได้เลือดดีแล้วเลือดจากปอดก็จะถูกส่งเข้าไปหัวใจด้านซ้าย 》》หัวใจฝั่งซ้ายจะรับเลือดที่ผ่านการฟอกแล้วไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเกิดปัญหาที่หัวใจจึงส่งผลไปยังปอดโดยตรง สาเหตุใหญ่ๆ คือไขมันในเลือดสูง!! 》》หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ส่งผลให้หัวใจชดเชยร่างกายด้วยการทำงานมากขึ้นเพื่อบืบให้เลือดส่งต่อไปได้ หัวใจทำงานเกินกำลังมากไป หัวใจล้า 》》ความดันเลือดจึงสูงขึ้น (ความดันโลหิตสูง) 》》ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวขึ้น (หัวใจโต ) ยิ่งส่งผลให้การบีบเลือดยากยิ่งขึ้น 》》กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักมากๆจนล้าจึงเกิดทำงาน (กล้ามเนื้อหัวใจล้มเหลว) กล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงาน เลือดไม่สามารถถูกบีบส่งออกไปได้ …

พูดลำบากปากเบี้ยว…อย่ารอ

พูดลำบากปากเบี้ยวอย่ารอ พูดลำบากปากเบี้ยวเป็นอาการที่พบได้ทุกเพศทุกวัย  เกิดได้จากหลายสาเหตุ 1.หลอดเลือดสมอง สมองขาดเลือดหลอดเลือดตีบหรือเลือดแตกเลือดออกในสมอง โรคหรือภาวะสมองขาดเลือดจากการมีลิ่มเลือดไปอุดหลอดเลือด (Stroke) ทำให้เซลล์สมองตาย หลอดเลือดอุดตันจากการอักเสบของหลอดเลือดหรือมีไขมันอุดตันเส้นเลือด ทำให้เกิดอาการอัมพาต การพูดการมองเห็นมีปัญหา แขนขาอ่อนแรงอาจล้มขณะยืน เดินเซนึกคำพูกไม่ออก พูดลำบากปากเบี้ยว 2.เนื้องอกในสมอง เนื้อที่เกิดจากการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ในสมองหรือบริเวณเนื้อเยื่อและต่อมต่าง ๆ บริเวณใกล้เคียงกับสมอง มีอาการปวด คลื่นไส้อาเจียน แขนขาอ่อนแรง พูดลำบากปากเบี้ยว พูดไม่ชัด 3.การติดเชื้อในสมอง สมองอักเสบหรือโรคเอ็มเอสบางคนอาจจะไม่คุ้นโรคนี้อ่านดูคร่าวๆไปนะคะ โรคเอ็มเอส (MS) หรือ Multiple Sclerosis …