พบสารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว

พบสารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยว สารกันบูดที่พบในเส้นก๋วยเตี๋ยว คือ “กรดเบนโซอิก” “ซอร์บิก” และ”ซัลเฟอร์ไดออกไซด์” ซึ่งเป็นสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ ใช้ในอาหารประเภทต่างๆ ปลา ผัก ผลไม้ หรือไวน์ อาหารอบแห้ง ลองทายสิคะว่าเส้นที่พบสารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยวมากที่สุดคือเส้นอะไร? ……………. ……………………….. คำตอบ คือ เส้นเล็กคะ รองลงมาคือเส้นหมี่และเส้นใหญ่ตามลำดับ เนื่องจาก 3 ชนิดนี้ทำจากแป้งข้าวเจ้ามีความชื้นสูงซึ่งบูดง่ายเมื่อทำเสร็จแล้ว ถ้าอยากเลื่ยงสารกันบูดให้ทานบะหมี่เหลืองและวุ้นเส้นแทนเพราะมาจากแป้งชนิดอื่น และเป็นเส้นแห้งๆ หากร่างกายคนเราได้รับสารกันบูดในปริมาณสูงเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดปริมาณที่สามารถใช้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ในเส้นก๋วยเตี๋ยวอยู่ที่ 500 …

ระบบขับถ่ายมีปัญหาจากนิสัยการทานอาหาร

ใครเคยดูสารคดีต่างประเทศบ้าง ต้องบอกเลยว่าเรื่องสุขภาพเขาทำได้ดีเป็นผู้นำจริงๆ มีเคสนึงเป็นผู้หญิงวัยกลางคน ระบบขับถ่ายมีปัญหาจากนิสัยการทานอาหาร ในเคสนี้สื่งที่ชอบทานคือช๊อกโกแลต และผลิตภัณฑ์จากช๊อกโกแลตทุกอย่างแม้แต่เบเกอรี่ก็ชอบ เรียกได้ว่าเปิดลิ้นชักในรถ มีขนมประเภทนี้ทุกที่ทีเดียว เมื่อมาพบคุณหมอผู้หญิงท่านนึ่งเพื่อที่จะปรึกษาเรื่องระบบขับถ่ายมีปัญหาจากนิสัยการทานอาหารที่กล่าวมา และเพื่อต้องการให้คนไข้มองเห็นปัญหาที่ชัดเจน เขาทำให้คนไข้เห็นแบบนี้คะ เขาเอาสายยางที่ทางการแพทย์ใช้ใส่ลงไปให้ถึงกระเพาะเพื่อให้อาหารปั่นที่เรียกว่าฟื๊ดดิ้ง(feeding) หรือเพื่อล้างท้องเวลากินสารพิษเข้าไป ดูดเอาน้ำในกระเพาะออกมา (กรณีนี้คือไม่ได้ทานอาหารมาหลายชั่วโมง)ได้น้ำออกมาตรวจเพื่อดูความเป็นกรดด่าง ผลปรากฎว่าน้ำจากกระเพาะอาหารนั้นมีค่าpH2 เท่ากับกรดแรงๆเลยคะ ทางคุณหมอได้ขยายความออกไปอีกว่า  เราจึงไม่ควรทานยาประเภทยาแก้ปวดขณะท้องว่าง* และร่างกายเรามีความมหัศจรรย์มากที่สามารถผลิตน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดมาย่อยอาหาร แต่มันสามารถอยู่ในกระเพาะอาหารเราได้ แบบที่ไม่เป็นอันตราย   แต่ในทำนองเดียวกันถ้าเราเกิดเป็นโรคกรดไหลย้อน จากการทานอาหารใกล้เวลานอน หรือเข้านอนหลังรับประทานอาหารทันที สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ทุกประเภท การรับประทานอาหารปริมาณมากๆภายในมื้อเดียว (เช่นทานบัฟเฟ่ไงค๊ะ) …

#ยาลดไขมัน…กับอีกมุมหนึ่งที่หมอไม่ค่อยบอก

#ยาลดไขมัน…กับอีกมุมหนึ่งที่หมอไม่ค่อยบอก : “มีงานวิจัยใหม่แล้วว่า “คอเลสเตอรอล” ที่ปลอดภัยต้องไม่เกิน 200 ม.ก./ด.ล. เพราะคนที่ระดับคอเลสเตอรอลระหว่าง 200-250 ม.ก./ด.ล. ก็มีสิทธิตายด้วยหัวใจหลอดเลือดอีกตั้งเยอะ เห็นท่าจะจำเป็นจ่ายยาลดคอเลสเตอรอลให้คุณละนะ” : แต่……คุณรู้ไหมว่า ยาลดไขมันเหล่านี้เข้าไปทำหน้าที่อย่างไร?? ในร่างกาย **ทำไมจู่ๆ คนมีนิสัยแย่ๆ ในการกินอาหารจนคอเลสเตอรอลสูง ครั้นหันมากินยาลดไขมันแต่ยังคงดำเนินชีวิตแย่ๆ ต่อไป แล้วคอเลสเตอรอลในเลือดก็ลดลงได้!!!! **คำตอบก็คือ ยาลดไขมันไปทำหน้าที่เพิ่มปุ่มรับ (receptor) บนเซลล์ตับ ให้ตับเก็บรับคอเลสเตอรอลจากกระแสเลือด แล้วไปซุกอยู่ในเซลล์ตับนั่นเอง ? ผล …

STROKEหรือโรคอัมพาตตลอดชีวิต โรคอัมพฤกษ์ (โรคซีวีเอCVA )

ใครจะไปสนใจเราได้เท่าตัวเราเอง ใครจะไปดูแลตัวเราได้เท่าคนในครอบครัวเราจริงไหมคะ ปัญหานี้อาจจะขยายตัวขยายอันตรายบานปลายจากใครถ้าไม่ใข่จากเราเองมาดูกันคะคุณ…. STROKEหรือโรคอัมพาตตลอดชีวิต โรคอัมพฤกษ์ (โรคซีวีเอCVA ) เป็นโรคที่เกิดการขยับของแขนขาไม่ได้เฉียบพลัน ไม่มีแรง ใช้งานได้น้อยหรืออ่อนแรงกว่าเดิม มีอาการชาแขนขาหน้าปากเบี้ยวหลับตาไม่สนิทเฉียบพลัน ทรงตัวลำบาก หยิบจับอะไรไม่ได้เหมือนปกติ บางคนช่างสังเกตุก็รู้ได้เร็ว อาการอื่นที่อาจเกิดได้อีกเช่นตาพร่ามึว มึนงง วิงเวียน หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน คลื่นไส้อาเจียนพูดไม่ชัด คิดคำพูดไม่ออกเฉียบพลัน การขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นได้ทั้งขาดอย่างชั่วคราวหรือขาดถาวร หากเกิดที่หัวใจหรือเรียกว่าหัวใจขาดเลือดก็จะทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายซึ่งก็เป็นอีกโรคที่อันตรายมากขึ้นและส่วนใหญ่ก็อันตรายถึงกับหมดสติและเสียชีวิตได้ โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ มักเกิดขึ้นได้กับคนที่อยู่ในวัยกลางคนหรืออายุ35ปีเป็นต้นไป มักเกิดกับคนที่ หลอดเลือดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดในสมองแตก การเกิดโรคหลอดเลือดทั้งสองชนิดนี้สามารถเกิดจากโรคเบาหวาน …

8ประเภทอาหารก่อโรคมะเร็ง

#โรคมะเร็ง กินให้ถูก กินให้เป็น ลดความเสี่ยง…. #โรคมะเร็ง โภชนาการ การออกกำลังกาย การพักผ่อน อารมณ์แจ่มใสและการขับถ่ายอย่างเป็นประจำ เป็นทางที่ป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างดีที่สุด “โรคมะเร็ง” เป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากมีเนื้องอกชนิดร้าย แทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย ซึ่งเป็นเซลที่ไม่สามารถควบคุมได้ จากการวิจัย สามเหตุของการเกิดโรคมะเร็งนั้น พบว่า เกิดจากสารพิษในอาหารมากถึง 50% ของผู้ป่วยทั้งหมด   อาหาร….เสี่ยง…..มะเร็ง ⚫️ อาหารไขมันสูง   ⚫️ อาหาร สุกๆ ดิบๆ ⚫️ …

3โรคที่แฝงมาจากการกินอาหารรสเค็ม

คนที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับไต ไตเสื่อมไตบกพร่องหรืออ่อนแอ หรือโรคเลือด ห้ามกินของเค็มนะคะ โรคที่แฝงมากับการกินอาหารรสเค็มมีดังต่อไปนี้คือ .  1.โรคร้อนใน กระหายน้ำ การกินอาหารรสเค็มจัดจะทำให้ระบบการดูดซึมอาหารในร่างกายทำงานหนักมากขึ้น ร่างกายคนเราเวลาที่ได้รับโซเดียมสูงหรือกินเค็มมากกว่าปกติร่างกายจะพยายามจะขับเกลือทิ้งออกทางเหงื่อหรือปัสสาวะ จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำเพิ่มขึ้น ร้อนใน รู้สึกแสบคอ ยิ่งกินเค็มมากๆอาจทำให้อาเจียน ท้องเดิน หรือเกิดอาการบวมน้ำได้ อาการบวมน้ำจะสังเกตุได้คือมือเท้าบวมเนื้อเต่งๆ ใสๆนิ่มๆหยุ่นๆ บางคนหน้าบวม บางคนคิดว่าตัวเองอ้วนแต่ไม่ใช่คะ .  2.ภาวะขาดน้ำ สำหรับเด็กและทารก ไตยังไม่สามารถขับถ่ายโซเดียมส่วนเกินได้ดีเท่าผู้ใหญ่ การกินอาหารรสเค็มมากเกินไปอาจยิ่งเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการมีโซเดียมสะสมในร่างกาย และอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นการที่คนในบ้านหรือผู้ใหญ่ในบ้านกินเค็ม ทำให้ลูกหลานมีโอกาสกินเค็มไปด้วย เหมือนเราบ่มเพาะโรคไตไว้ในตัวลูกคะ ขนมขบเคี้ยวมีความเค็มมากเป็นเรื่องที่ควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่งคะ …

เม็ดเลือดขาวฆ่าเชื้อโรคได้

      เมื่อเรามีเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ จะเอาพลังหรือกำลังไปต่อสู้เชื้อโรคได้จากที่ไหน #อาการของเม็ดเลือดขาวต่ำ ทำให้เกิดการติดเชื้อโดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรียรุกรานที่เยื่อบุ และผิวหนัง อาการที่สำคัญได้แก่การเป็นแผล มีฝี หรือมีแผลที่หายยาก ผลการนับจำนวนเม็ดเลือดขาว  คนปกติจะนับได้ 4,500 – 10,500 เม็ดต่อหนึ่งลูกบาศก์มิลลิเมตร การตรวจนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาว -Neutrophils คนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อจะมีนิวโตรฟิลประมาณ 45-70 ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ตอบสนองต่อการอักเสบเฉียบพลันหรือติดเชื้อในร่างกาย -Eosinophils คนปกติไม่ควรมีอีโอซิโนฟิลเกิน 5% สนองตอบต่อปฏิกิริยาแพ้ ซึ่งมักขึ้นสูงเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกายแล้วร่างกายแพ้ เช่นมีพยาธิ -Basophils …

4โรคเสี่ยงที่คุกคามจากรสชาติอาหารของการกินเกลือที่ไม่ระวัง

4โรคเสี่ยงเป็นคุกคามจากรสชาติอาหารจากการกินที่ไม่ระวัง “เกลือ” คือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า “โซเดียมคลอไรด์” และคนทั่วไปมักจะเรียก “เกลือแกง” ที่ใช้ประกอบอาหารว่าโซเดียมคลอไรด์ โซเดียมเป็นแร่ธาตุธรรมชาติที่ร่างกายต้องการ และร่างกายไม่สามารถผลิตโซเดียมได้เอง จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เกลือทำให้อาหารมีรสชาติดีขึ้น กินมากๆลิ้นจะคุ้น จะชิน ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ คนเราควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน (หรือ 1 ช้อนชา) ส่วนคนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ปัจจุบันคนไทยบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูงกว่าที่ร่างกายต้องการถึง 2 เท่า หรือวันละ 4,000 มิลลิกรัม จากพฤติกรรมต่างๆ …

จะควบคุมโรคแทรกซ้อนในโรคเบาหวานได้อย่างไร

  จะควบคุมโรคแทรกซ้อนในโรคเบาหวานได้อย่างไร โรคเบาหวาน ถ้าคุมน้ำตาลได้ไม่ดีน่ากลัวคะ เพราะสุดท้ายแล้วการป้องกันผลแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ดีที่สุดและเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตคือการควบคุมน้ำตาลในคนเป็นโรคเบาหวานให้ได้ โรคเบาหวานที่มักพบได้บ่อยเป็นชนิดที่เกิดในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ส่วนมากมักเกิดกับคนอ้วนแต่ก็ไม่เสมอไปนะคะ การเกิดโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน คือ ฮอร์โมนอินซูลิน อินซูลินจะเป็นตัวนำน้ำตาลซึ่งเป็นน้ำตาลกลูโคส จากเลือดเข้าสู่เซลของอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เช่น สมอง ตับ ไต และหัวใจ แขน ขาหรือทุกๆอวัยวะ ทำให้เซลต่างๆนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงานต่างๆของเซลทุกชนิดทั่วร่างกาย หรือที่เราเรียกว่า การสันดาป หรือเมตาโบลิซึมนั่นเองการบกพร่องในการบกพร่องในการทำงานของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตทำให้ร่างกายมีปัญหาในการผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด โรคต่างๆเที่อาจตามมาจากการเป็นโรคเบาหวานได้แก่ โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงแข็ง …